วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
นำเสนองานกลุ่ม
- ความสำคัญของภาษา
- พัฒนาการสติปํญญาของเด็กอายุ2-4 ปี
- พัฒนาการสติปัญญาขอเด็ดอายุ4-6ปี
- ทฤษฎีจิตวิทยาการรเรียนรู้
- องค์ประกอบของภาษา
- การจัดประสบการณ์ทางภาษา
การจัดประสบการณ์ทางภาษา
ทักษะการใช้ภาษา
1 บอกสิ่งของที่รักและเหตุผล
เป็นการให้เหตุผลเเบบอุปนัยเนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่
ดังนั้นการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น
ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง
ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล
หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่งได้แก่ จำนวนข้อมูล และ ข้อมูล
2 การโฆษณาสินค้า
การโฆษณา
มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง
นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ
เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ
กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว
มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
1. เรียกร้องความสนใจคือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ
กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
2. ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้าเป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
3. ให้ความมั่นใจ เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ
4. ยั่วยุให้เกิดการตัดสินใจ เป็นการใช้ถ้อยคำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยเร็วที่สุด
3การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็นข่าวสารข้อเท็จจริงต่างๆไปสู่กลุ่มประชาชน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานองค์การสถาบันกับกลุ่ม
ประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อหวังผลในความร่วมมือ
สนับสนุนจากประชาชนรวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน องค์การ สถาบันด้วย ทำให้ประชาชนเกิดความนิยมเลื่อมใสศรัทธาต่อหน่วยงานตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิดช่วยลบล้างปัญหาเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น
4 การเล่าข่าว
1. การใช้ภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์
1.1 การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ เช่น หนุน ใช้แทน สนับสนุน ยัน ใช้แทน ยืนยัน มะกัน ใช้แทน
สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
1.2 การละประธานของประโยค
1.3 การละเว้นคำเชื่อม คำสันธาน หรือส่วนที่ขยายประโยค นอกจากการละประธาน
ของประโยคแล้ว พาดหัวข่าวมักจะใช้ประโยคเดี่ยวมากกว่าประโยคซ้อน การใช้ภาษาจึงหลีกเลี่ยงคำเชื่อม และส่วนขยายประโยคที่ไม่จำเป็น เช่น คำว่า “อีกทั้ง”
“ซึ่ง” “กับ” “ต่อ” เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ส่วนที่ละไว้ต้องไม่ทำให้ประโยคเหล่านี้มีความหมายผิดเพี้ยนไป
1.4 การใช้คำสแลง คำเฉพาะสมัย หรือคำที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง
1.5 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสีสันให้พาดหัวข่าว
เพื่อดึงดูดความสนใจคนอ่าน
2. การใช้ภาษาความนำข่าวหนังสือพิมพ์
ลักษณะการใช้ภาษาในความนำข่าวจะแตกต่างจากพาดหัวข่าวดังนี้
2.1 การใช้ประโยคสมบูรณ์แบบสั้น
2.2 การใช้คำแสดงภาพลักษณ์
2.3 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล
2.4 การใช้ภาษาสนทนา
3. การใช้ภาษาเนื้อข่าวหนังสือพิมพ์
3.1 ลักษณะเนื้อหาข่าว แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
3.1.1 แบบให้ข้อเท็จจริง (Fact story) ใช้ภาษาเขียนแบบอธิบายความ
หรือบรรยายข้อเท็จจริงของเรื่องที่เกิดขึ้น
3.1.2 แบบแสดงการเคลื่อนไหว (Action story) เป็นการเขียนที่เหมาะกับข่าว หรือเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรม ข่าวสงคราม การแข่งขันกีฬา เหตุอุทกภัย เพลิงไหม้ ระเบิด
หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น
3.1.3 แบบกล่าวอ้างคำพูด (Qoute story) เป็นการเขียนที่ใช้ภาษาสนทนามากกว่า
ภาษาเขียน เพราะเนื้อความข่าวแบบนี้อ้างอิงคำพูดของบุคคลในข่าวเป็นส่วนใหญ่
เ
3.2 ลักษณะการใช้ภาษาในเนื้อข่าว
การใช้ภาษาในเนื้อข่าวแม้จะคล้ายความนำข่าวมากกว่าพาดหัวข่าวแต่ก็มีความแตกต่างบางประการดังนี้
3.2.1 ระดับภาษา เนื้อข่าวโดยทั่วไปใช้ภาษาเป็นทางการ
แต่ข่าวแบบที่มีลีลาเคลื่อนไหวใช้ภาษากึ่งทางการและเขียนเชิงพรรณนามากกว่าบรรยายสอดแทรกในเนื้อเรื่องของข่าว
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหรือเห็นภาพเหตุการณ์ได้มากขึ้น ส่วนภาษาสนทนาตลอดจนภาษาสแลง
คำเฉพาะสมัยที่ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคย
จะพบในรายงานข่าวบางประเภทที่เป็นไปเพื่อความบันเทิง และความ เร้าใจ เช่น ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ข่าวสังคม เป็นต้น
3.2.2 รูปแบบประโยค แม้เนื้อข่าวจะเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดทั้งหมดของสิ่งที่ควรปรากฏเป็นข่าว
แต่ผู้สื่อข่าวไม่ควร เขียนให้เยิ่นเย้อ มากเกินความจำเป็นจนกลายเป็นบทพรรณนา นิยมใช้ประโยคสั้นมากกว่า ประโยคยาว
หรือประโยคซ้อน ขณะเดียวกันก็ไม่นิยมใช้คำตัดสั้น คำกร่อน
หรือคำย่อที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน
หากเป็นคำใหม่ก็ใช้คำเต็มและวงเล็บคำย่อตามหลังในการใช้ครั้งแรก
จากนั้นก็ใช้คำย่อในการเขียนครั้งต่อไป
3.2.3 การใช้ภาษาเชิงวิพากษ์ ข่าวเป็นการรายงานข้อเท็จจริง
จึงควรหลีกเลี่ยงภาษา
เชิงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าลักษณะใด ๆ เช่น กระทบกระเทียบ ประชดประชัน เสียดสี
เนื่องจากผิด คุณลักษณะข่าวที่ถูกต้อง
ที่มา http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter8-4.html
5.การเล่าจากภาพ
เป็นการถ่ายทอดความคิดในการออกแบบจากสิ่งที่เป็นนามธรรม
ให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดในการออกแบบนั้น
ฉันเด็กดอกไม้ที่ใต้ต้นไม่ใหญ่ไกล้บ้านของฉันแล้วเดินไปโรงเรียน
__________________________________________________________________________________________________________________________________